ทดสอบความเสถียรของเครือข่ายด้วยการ Ping….

คำสั่ง Ping เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบสถานะของเครือข่าย โดยการสร้าง ICMP Packet และส่งไปยังอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราต้องการทดสอบ หากเครื่องหรืออุปกรณ์นั้นสามารถตอบกลับได้ จะมีการตอบกลับมาในรูปแบบของ ICMP Echo Reply ซึ่งในบางครั้งจะแสดงข้อความ “Reply From Host” หรือ “Reply From [IP Address]” เพื่อแสดงว่าการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ได้เป็นที่เรียบร้อย

การใช้คำสั่ง Ping ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบว่าเครือข่ายหรืออุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายสามารถทำงานได้ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อมีปัญหาในการเชื่อมต่อเครือข่าย การใช้คำสั่ง Ping จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหาได้ง่ายขึ้น

ดังนั้น การรู้จักและเรียนรู้การใช้คำสั่ง Ping เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับท่านที่ประสบปัญหาการใช้งานการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย และอินเทอร์เน็ตบ่อยๆ ทั้งเน็ตช้า ระบบงานโหลดไม่ขึ้น หมุน กระตุก อะไรประมาณนี้!!!

การทดสอบและศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสั่ง Ping จะช่วยให้คุณเข้าใจและเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีด้านเครือข่ายที่ในชีวิตประจำวันของคุณทั้งที่บ้าน หรือที่ทำงานได้มากขึ้น เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้คุณมีความรู้ความสามารถทางเทคนิคที่ดีและมั่นใจในการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคตอีกด้วยครับ

เราควรทำการ Ping เมื่อ…?

Pเมื่อ..เรารู้สึกว่าการใช้งานช้า โดยการ Ping เพื่อตรวจสอบเวลาที่ใช้ในการตอบกลับของโฮสต์ปลายทาง หากเวลาที่ใช้นานเกินไป อาจเป็นสัญญาณว่ามีปัญหาในการเชื่อมต่อ

Iเมื่อ..เราต้องการค้นหาหรือตรวจสอบ IP address ของเครื่องหรือเป้าหมายปลายทาง โดยการ Ping เป็นวิธีที่ดีในการตรวจสอบว่าเราสามารถเชื่อมต่อไปยังเป้าหมายได้หรือไม่

Nเมื่อ..เราต้องการตรวจสอบการเชื่อมต่อในเครือข่าย โดย Ping จะทำการส่ง ICMP Packet ไปยังเครื่องปลายทางและรอการตอบกลับ หากเครื่องปลายทางตอบกลับมาได้ แสดงว่าการเชื่อมต่อในเครือข่ายถูกต้อง

G เมื่อต้องการตรวจสอบความเชื่อมต่อของเครือข่ายว่าทำงานอย่างถูกต้องหรือไม่ หรือต้องการทราบสถานะของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของเรา

ดังนั้น เมื่อเรามีความเสี่ยงที่การเชื่อมต่ออาจมีปัญหา เราสามารถใช้คำสั่ง Ping เพื่อทดสอบความเสถียรของการเชื่อมต่อในเครือข่ายได้โดยง่ายดาย และทราบสถานะของการเชื่อมต่อได้ทันที

วิธีการ Ping. ปิง. Ping. ปิง. !!..!.!.🏓

สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows

รูปที่ 3

Cให้กด Windows + R ในหน้าต่าง Run พิมพ์“ cmd” ลงในช่องค้นหาจากนั้นกด Enter

รูปที่ 4

Mที่พรอมต์>พิมพ์“ ping” พร้อมกับ URL หรือที่อยู่ IP ที่คุณต้องการ ping จากนั้นกด Enter ในภาพด้านบนเรากำลัง ping 192.168.177.1 ( IP ของ Router) และได้รับคำตอบตามปกติ

รูปที่ 4

Dตัวอย่าง การ ping URL เพื่อทำการตรวจสอบการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ต่างประเทศ ( ping www.bbc.com )

รูปที่ 4:
จากการ ping เป็นการทดสอบด้วยการ ping เพื่อตรวจสอบการเชื่อมต่อ Network ภายใน เพื่อหาสาเหตุในการเชื่อมต่อเบื้องต้น โดยการ ping ไปที่ IP 192.168.177.1 ซึ่งเป็น IP ของตัว Router หรือ Gateway ของ Network ของคุณ และได้รับการตอบตามจาก Router ปกติ

รูปที่ 5:
เป็นตัวอย่างการ ping URL เพื่อทำการตรวจสอบการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ต่างประเทศ โดยการ ping ไปที่โดเมน www.bbc.com ซึ่งเป็น Server ที่ตั้งอยู่ที่ต่างประเทศ หากคุณต้องการทดสอบการเชื่อมต่อเว็บไซต์ภายในประเทศ คุณก็สามารถ ping ไปที่ IP หรือ โดเมนที่คุณต้องการเช่น madoo.com
หรือคุณสามารถ ping ไปที่ IP Address DNS Server ที่ต้องการได้ เช่น ping 8.8.8.8 เป็นต้น

การตอบกลับมา

ตัวอย่าง ping 8.8.8.8

รูปที่ 5 แสดงตัวอย่าง ping 8.8.8.8 ที่ปกติ

จากคำสั่ง Ping จะแสดง URL ที่กำลัง ping พร้อมกับ IP address ที่เชื่อมโยงกับ URL นั้น ๆ และขนาดของแพ็กเก็ตที่ส่งในบรรทัดแรก ส่วนบรรทัดถัดไปจะแสดงการตอบกลับจากแต่ละแพ็กเก็ตพร้อมกับเวลาในหน่วยมิลลิวินาที

ด้านล่างของผลลัพธ์จะมีข้อมูลสรุปที่แสดงจำนวนแพ็กเก็ตที่ถูกส่งและรับตลอดจนเวลาตอบกลับที่ต่ำสุด สูงสุด และเฉลี่ย เมื่อทำการ Ping ไปที่ 8.8.8.8 (ที่เป็น IP address ของเซิร์ฟเวอร์ DNS ของ Google) ผลลัพธ์ที่ได้จะประกอบด้วยข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสำคัญดังนี้:

  1. “Reply from 8.8.8.8: bytes=32 time=<เวลาที่ใช้ในการตอบกลับ>ms TTL=<ค่า TTL>”
  2. บรรทัดต่อไปจะแสดงการตอบกลับจากแต่ละแพ็กเก็ตพร้อมกับเวลาในหน่วยมิลลิวินาที
  3. ส่วนสุดท้ายของผลลัพธ์จะแสดงข้อมูลสรุปที่รวมถึง:

ผลลัพธ์จะช่วยให้เราทราบถึงสถานะและประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ 8.8.8.8 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการตรวจสอบความเสถียรของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของเรา

รูปที่ 7 แสดงผลการ ping ไปที่ Gateway (192.168.1.1) ที่ไม่ปกติ

จากรูปแสดงให้เห็นว่าเกิด “Request time out” เป็นช่วงๆ สลับกับ “Reply from” สามารถบ่งบอกถึงคุณภาพเส้นทางที่เชื่อมต่อกับ Host ปลายทางที่มีปัญหา

  • เวลาที่ใช้ในการตอบกลับมีค่าสูงกว่าปกติ เช่น 500ms หรือมากกว่า 1000ms อาจแสดงถึงปัญหาในการเชื่อมต่อหรือปัญหาในเครือข่ายของคุณ
  • การสูญเสียแพ็กเก็ต โดยการไม่มีการตอบกลับจากเซิร์ฟเวอร์ 8.8.8.8 ซึ่งอาจเกิดจากการสูญเสียแพ็กเก็ตในเครือข่ายหรือปัญหาการเชื่อมต่อ
  • การเชื่อมต่อไม่เสถียร โดยการมีความแปรปรวนในเวลาตอบกลับ เช่น เวลาตอบกลับที่สูงขึ้นแล้วต่ำลงอย่างไม่สม่ำเสมอ อาจแสดงถึงปัญหาในการเชื่อมต่อที่ไม่เสถียน

สาเหตุอาจเป็นเนื่องมาจาก ปัญหาการเชื่อมของระบบการเชื่อมต่อ Network ภายในที่ไม่เสถียร หรือปัญหาของตัว Router ที่เป็น Gateway หรืออาจมีการถูกรบกวนจากปัจจัยอื่นๆ

ใส่ลูกเล่นในการ ping ให้ไม่ธรรมดา…😁

  1. -t: ใช้เพื่อทำการ Ping ไปเรื่อย ๆ โดยไม่หยุด เมื่อกด Ctrl+C เพื่อหยุดการทำงาน
  2. -n [จำนวนแพ็กเก็ต]: ใช้กำหนดจำนวนแพ็กเก็ตที่ต้องการส่งไปทดสอบ โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น 4
  3. -l [ขนาดแพ็กเก็ต]: ใช้กำหนดขนาดของแพ็กเก็ตที่จะส่งไปทดสอบ โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น 32 bytes
  4. -f: ใช้เพื่อส่งแพ็กเก็ตด้วยสิ่งที่เรียกว่า “Don’t Fragment” เพื่อทดสอบเวลาการส่งแพ็กเก็ตที่มีขนาดใหญ่
  5. -w [เวลาที่รอคำตอบ (หน่วยเป็นมิลลิวินาที)]: ใช้กำหนดเวลาที่รอคำตอบจากเซิร์ฟเวอร์ โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น 4000 milliseconds (หรือ 4 วินาที)
  6. -v: ใช้แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมของการ Ping เช่น หน่วยเวลาที่ใช้ในการตอบกลับแต่ละครั้ง

การปรับแต่งพารามิเตอร์เหล่านี้จะช่วยให้เราได้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากขึ้นในการวิเคราะห์และทดสอบเครือข่ายของเรา

รูปที่ 8

รูปที่ 8 แสดงตัวอย่าง “ping -t ตามด้วย host ปลายทาง” หรือ “ host ตามด้วย -t ก็ได้หมดปลาย” เพื่อสั่งให้ ping ค้างไว้เรื่อยๆจนกว่าจะกดยกเลิกด้วย Ctrl+C

บทความอื่น

1.คำสั่ง Ping → ศัพท์เทคนิคที่ควรรู้เพื่อประสิทธิภาพและคุณภาพการใช้งานอินเทอร์เน็ต

2. ความสัมพันธ์ของ Latency และ Round Trip Time (RTT) กับมาตรฐานคุณภาพบริการโทรคมนาคมในประเทศไทย

3. Ping, RTT, Latency, Lag, และ Jitter เข้าใจเทคนิคเครือข่าย: คำศัพท์ที่ควรรู้เพื่อเข้าใจประสิทธิภาพและคุณภาพการต่ออินเทอร์เน็ต:

--

--